วรรณยุกต์จีน มีกี่เสียง เทียบกับไทย

เรื่องสุดท้ายของการเรียนพินอินคือการผัน วรรณยุกต์จีน และแน่นอนครับมีแบบทดสอบ แบบฝึกหัดวรรณยุกต์จีน รอทุกคนอยู่ เชื่อว่านักเรียนจะเชี่ยวชาญอย่างแน่นอน
หลังจากที่นักเรียนได้ฝึกเรื่อง พินอิน (พยัญชนะจีน สระภาษาจีน) และ การผสมคำภาษาจีนกลาง จนคล่องแล้วถัดมาเราจะมาทำให้การออกเสียงพินอินให้สมบูรณ์ โดยการออกเสียงวรรณยุกต์ หากใครยังไม่ได้ฝึกหรือยังไม่คล่อง กลับไปทบทวนนะครับ
ถึงเวลาแล้วครับ มาเริ่มต้นเรียนกันเล้ยย
วรรณยุกต์จีน มีกี่เสียง เทียบกับเสียงไทย?
นักเรียนส่วนใหญ่เข้าใจว่า วรรณยุกต์จีน มี 4 เสียง จริงๆแล้วก็ถูกต้องครับ แต่ทว่านักเรียนอาจจะยังไม่รู้ว่ามันยังมีอีกหนึ่งเสียงที่เรียกว่า เสียงเบา หรือ อยู่ในรูปแบบที่ไม่ใส่วรรณยุกต์ครับ ต่อมาดูตารางด้านล่าง เครื่องหมายใช้แทนเสียงวรรณยุกต์ การเทียบเสียงวรรณยุกต์ไทยและการอ่านเสียงวรรณยุกต์ ดังนี้
วรรณยุกต์จีนเทียบกับเสียงไทย
- เสียงที่ 1
เทียบเสียงวรรณยุกต์ไทยคือ สามัญ รูปแบบในการเขียน bā อ่านว่า ปา
- เสียงที่ 2
เทียบเสียงวรรณยุกต์ไทยคือ จัตวา รูปแบบในการเขียน bá อ่านว่า ป๋า
- เสียงที่ 3
เทียบเสียงวรรณยุกต์ไทยคือ เอก รูปแบบในการเขียน bǎ อ่านว่า ป่า
- เสียงที่ 4
เทียบเสียงวรรณยุกต์ไทยคือ โท รูปแบบในการเขียน bà อ่านว่า ป้า
- เสียงเบา
คือพยางค์เสียงที่ ไม่มีวรรณยุกต์ เวลาออกเสียงจะเบาและสั้นมาก ออกเสียงเหมือนเสียงที่ 1 แต่ออกเพียงครึ่งเสียง เขียนว่า ba อ่านว่า ป่ะ อีกหนึ่งตัวอย่าง ma ม่ะ
ตำแหน่งการวาง วรรณยุกต์จีน
ตำแหน่งของการวาง วรรณยุกต์จีน ทั้ง 4 เสียง จะวางไว้บนตัวอักษร a o e i u ü ครูกายมีเทคนิคที่จะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น หากเจอตัวอักษรที่กล่าวมาด้านบนซ้ำกัน เช่น bian เราจะเลือกวางวรรณยุกต์ไว้บน a เรียงลำดับตามพยัญชนะภาษาอังกฤษ a b c d e f g h i j เพราะว่ามาก่อน i ดังนั้นก็จะวางบน biān สำหรับตัว ü เป็นลำดับสุดท้ายครับ
หมายเหตุ ยกเว้น iū ที่จะวางไว้ตรงตัว u ไม่ใช่ตัว i
ตัวอย่างของตำแหน่งการวางวรรณยุกต์จีน ā āi āo ān āng / ō ōng ōu / ē ēi ēn ēng ēr / ī iā iāo iē iū iān iāng īn īng īong / ū uā uō uī uāi uān ūn uāng uēng / ǖ üē üān ǖn
-
สระภาษาจีน i เวลาวางวรรณยุกต์ให้ตัดจุดบนออกจะเป็น bī pī
-
สระภาษาจีน ü เวลาตามหลังพยัญชนะ j q x y ตัดสองจุดบนออกจะเป็น jū qúe xǔan yūn
ยกเว้น เมื่อตามหลัง n l ยังคงรูปเดิมเป็น nǚ lǜ
แบบฝึกหัดวรรณยุกต์จีน
แบบฝึกหัดวรรณยุกต์จีน ครูกายจะแบ่งเป็น 2 หัวข้อครับ แบบฝึกหัดในบทนี้ไม่ยากอย่างที่คิด หากทำ 2 บทก่อนหน้าในเรื่อง พินอิน มาแล้ว ครูกายรับรองว่าง่ายๆครับ
กฏในการออกเสียง วรรณยุกต์จีน
กฎในการออกเสียงวรรณยุกต์จีน หมายถึงข้อกำหนดที่ใช้ในการออกเสียง วรรณยุกต์จีน โดยแบ่งออกเป็น 4 กฎ ในส่วนของกฎวรรณยุกต์จีน ทำความเข้าใจให้มากที่สุดครับ เดี่ยวถ้านักเรียนเจอในบทเรียนถัดไปจะทำให้จำได้ง่าย แบบอัตโนมัตัเลย
半三声 (bàn sān shēng) เสียงวรรณยุกต์ที่ 3 ครึ่งเสียง
เมื่อพินอินที่มีเสียงวรรณยุกต์จีนที่ 3 ตามหลังด้วยพินอินที่มีเสียงวรรณยุกต์จีนที่ 1,2,4 และเสียงเบา เวลาออกเสียง เสียงวรรณยุกต์ที่ 3 จะออกเสียงเพียงครึ่งเสียง แต่ยังคงรูปเดิม ยกตัวอย่างเช่น
卷舌韵母 (juǎn shé yùn mǔ) สระพับลิ้น er ลดรูป
พินอินตามหลังคำว่า “儿” er เวลาเขียนจะลดรูปตัว er เป็น r
隔音符号 (gé yīn fú hào) เครื่องหมายวรรคตอน
เมื่อพินอินขึ้นต้นด้วยสระเดี่ยว a,o,e และตามหลังพินอินตัวอื่น จะใช้เครื่องหมายวรรคตอน (’) ยกตัวอย่างเช่น
变调 (biàn diào) การเปลี่ยนเสียง
- การเปลี่ยนเสียงของคำว่า “一”yī ที่แปลว่าหนึ่ง
- ถ้าพินอินที่อยู่ตามหลังyīเป็นเสียงวรรณยุกต์ที่ 1, 2, 3 { yī จะอ่านออกเสียงเป็นเสียงวรรณยุกต์ที่ 4 }
- ถ้าพินอินที่อยู่ตามหลังyīเป็นเสียงวรรณยุกต์ที่4 และ เสียงเบา { yī จะอ่านออกเสียงเป็นเสียงวรรณยุก์ที่ 2 } ยกตัวอย่างเช่น
- การเปลี่ยนเสียงของคำ ว่า “不”bù ที่แปลว่าไม่
- ถ้าพินอินที่อยู่ข้างหน้าbùเป็นเสียงวรรณยุกต์ที่ 1, 2, 3 { bù จะอ่านออกเสียงเป็นเสียงวรรณยุกต์ที่ 4 }
- ถ้าพินอินที่อยู่ข้างหน้าbùเป็นเสียงวรรณยุกต์ที่ 4 { bù จะอ่านออกเสียงเป็นเสียงวรรณยุกต์ที่ 2 } ยกตัวอย่างเช่น
- หลักการอ่านออกเสียงของเสียงวรรณยุกต์ที่ 3 เมื่ออยู่ซ้อนกัน
- คำว่า 很好 hěnhǎo คือพินอินที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่ 3 ซ้อนกัน 2 ตัว เวลาอ่านพินอินที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่ 3 ตัวแรกให้ลดเสียงเป็นวรรณยุกต์ที่ 2 แทน
- อ่านเป็น hénhǎo แต่เวลาเขียนยังคงรูปเป็นเสียงวรรณยุกต์ที่ 3
- พินอินที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่ 3 ซ้อนกัน 3 ตัว และ 4 ตัว จะคงรูปตัวสุดท้ายเป็นเสียงวรรณยุกต์ที่ 3 ที่เหลือลดเป็นเสียงวรรณยุกต์ที่ 2
แบบฝึกหัด กฎวรรณยุกต์จีน
ฝึกการอ่านออกเสียงวรรณยุกต์เสียงที่ 3 ครึ่งเสียง 半三声
ฝึกการอ่านสระพับลิ้น er ลดรูป 卷舌韵母
ฝึกการอ่านเปลี่ยนเสียง 变调
ฝึกการอ่านพินอิน 拼音
สรุป วรรณยุกต์จีน
จบแล้วครับสำหรับเรื่อง วรรณยุกต์จีน แล้วยินดีด้วยครับที่ทุกคนเรียนเรื่อง พินอินจนจบ สุดยอดมากครับ ครูกายขอย้ำอีกรอบสำหรับใครที่ยังไม่ได้เรียน 2 บทเรียนก่อนหน้า บทที่ 1/1 พินอิน (พยัญชนะจีน สระภาษาจีน) และ บทที่ 1/2 การผสมคำภาษาจีนกลาง (พินอิน) ก็กลับไปทบทวนน้าาา นักเรียนที่คล่องแล้วถึงเวลาไปต่อ ภาษาจีนพื้นฐาน แล้วครับ
ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น ครูกายเป็นกำลังใจให้ครับ